เนเชอรัล ลัมเบอร์

วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

การจัดเกรดไม้เนื้อแข็งตามสีของไม้

สำหรับบางพันธุ์ไม้เนื้อแข็งที่ขายตามท้องตลาด นอกจากจะใช้หลักเกณฑ์การจัดเกรดไม้ของ HNLA ยังมีการจัดเกรดเพิ่มเติมและตั้งราคาขายตามสีของไม้ด้วย เนื่องจากสีของไม้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณค่าของไม้สูงขึ้น สีไม้ที่ใช้ในการคัดเกรดไม้หมายถึงสีของกระพี้และแก่นไม้

เกรดสีเบอร์ 1 ขาว และ 2 ขาว ( No.1 and 2 White )
กณฑ์นี้จะใช้เวลาต้องการระบุสีของแผ่นไม้กระพี้ไร้ตำหนิ มักใช้กับไม้เมเปิ้ล เนื้อแข็ง แต่อาจใช้กับพันธุ์อื่นได้ เช่น แอช เบิร์ช และ เมเปิ้ลเนื้ออ่อน

หมายเลข 1 ขาว หมายถึงทั้งสองด้านของแผ่นไม้ตัดที่ไม่มีตำหนิ ทั้งผิวหน้าและขอบทั้งสองข้างต้องเป็น ไม้กระพี้เท่านั้น

หมายเลข 2 ขาว หมายถึงด้านหนึ่งของแผ่นไม้ตัดรวมทั้งขอบแผ่นไม้กระดานทั้งสองข้างต้องเป็นกระพี้หมดส่วนอีด้านหนึ่งต้องเป็นกระพี้อย่างน้อยร้อยละ 50

ข้อกำหนด Sap หรือดีกว่า (sap and better) ไม้ชั้นคุณภาพนี้มีขึ้นสำหรับในกรณีต้องการไม้กระดานด้านเดียวเป็นกระพี้ ส่วนใหญ่จะใช้ข้อกำหนดนี้กับพันธุ์ไม้ที่ได้มีการใช้เกณฑ์เบอร์ 1 ขาว และ 2 ขาวอยู่แล้ว แต่เป็นเกรดที่ไม่เข็มงวดเท่า กล่าวคือในไม้ชั้นคุณภาพ sap หรือดีกว่า ไม้กระดานทุกแผ่นในส่วนที่เป็นไม้ไร้ตำหนิควรเป็นกระพี้อย่างน้อยหนึ่งด้าน

ข้อกำหนดที่ว่าอย่างน้อยด้านหนึ่งต้องเป็นแก่นไม้ (Red one face and better) เป็นเกรดไม้สำหรับผู้ที่ต้องการไม้กระดานแปรรูปที่อย่างน้อยด้านหนึ่งเป็นแก่นไม้ เกรดนี้มักใช้กับไม้เชอรี่ โอ๊ค วอลนัท กัม และในบางกรณีไม้ เบิร์ช กับ เมเปิ้ล สิ่งที่ผู้ซื้อต้องการเวลาที่ระบุขอซื้อไม้ “อย่างน้อยด้านหนึ่งเป็นแก่นไม้” คือแผ่นไม้ไร้ตำหนิที่ด้นหนึ่งเป็นแก่นไม้ ในความเป็นจริง มีทางเลือกอีกมากสำหรับผู้ซื้อไม้เนื้อแข็งอเมริกันเพื่อไปทำผลิตภัณฑ์ เช่นสามารถระบุความยาว ความกว้างที่เฉพาะเจาะจงลงไปมากกว่าที่กล่าวมาข้างต้น อาจระบุได้แม้กระทั่งรูปแบบของลายเสี้ยนที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย การจัดชั้นคุณภาพไม้ที่ได้ให้รายละเอียดไว้ในหนังสือเล่มนี้เป็นมาตรฐานเพื่อเอื้ออำนวยการค้า และสามารถปรับเปลี่ยนได้เล็กน้อย ซึ่งอาจช่วยลดต้นทุนของทั้งสองฝ่าย และเพิ่มคุณค่าในทางพาณิชย์ของไม้แปรรูป รวมทั้งนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตจากไม้ซุงแต่ละท่อน อันเป็นการส่งเสริมนโยบายรักษา อนุรักษ์ป่าให้มีความยั่งยืนสืบไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น