เนเชอรัล ลัมเบอร์

วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ป่าไม้เนื้อแข็งของสหรัฐอเมริกา

คำว่า “ไม้เนื้อแข็ง” หมายถึง ชนิดไม้จำพวกผลัดใบ หรือไม้ใบกว้าง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับป่าไม้
สหรัฐมีทรัพยากรไม้จากไม้เนื้อแข็งปริมาณมหาศาล การเติบโตของป่าไม้เนื้อแข็งในแต่ละปี มีปริมาณเกินความต้องการ โดยเฉพาะภาคตะวันออกของสหรัฐ เป็นแหล่งใหญ่ของไม้ชนิดหลักๆ เช่น เร็ดโอ๊ค, ไว้ท์โอ๊ค, วอลนัท, เชอรี่, แอช, และ เมเปิ้ล ทรัพยากรเหล่านี้กำลังทวีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และมิได้ลดลงอย่างที่มีการหวั่นวิตกอย่างใด

ภายในปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ.2543) การสำรวจหลักใหญ่ในการส่งออก และชนิดของไม้เนื้อแข็งในทางการค้าทั้งหมดของสหรัฐ จะต้องดำเนินการต่อไป เพื่อเพิ่มพูนปริมาณอย่างแน่นอน
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่สหรัฐมี และจะมีทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนความต้องการภายในประเทศต่อไป และเพื่อที่จะเป็นแหล่งสนับสนุนหลักสำหรับตลาดไม้เนื้อแข็งที่เกี่ยวกับไม้ซุง, ไม้แปรรูปและผลผลิตไม้บางต่างๆ

กฎหมายว่าด้วยการใช้ประโยชน์แบบเอนกประสงค์อย่างยั่งยืนในปี ค.ศ. 1960 (พ.ศ.2503) ซึ่งมีอายุมากกว่า 30 ปีแล้ว บ่งชี้ไว้ว่า การทำไม้ในพื้นที่ของรัฐ จะต้องไม่เกินกว่าความเพิ่มพูนรายปี และต้องคำนึงถึงการจัดการที่ดิน, คุณภาพน้ำ, สิ่งอำนวยความสะดวกในการพักผ่อนหย่อนใจ และเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ

การทำไม้ในป่าไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่มีการตัดฟันครั้งที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งจะทำให้ไม่มีไม้อายุมาก ยกเว้นภายในอุทยานต้องห้าม 3 แห่ง อันเป็นที่ซึ่งห้ามการทำไม้ในทางการค้า

ในสหรัฐนั้น มีฟาร์มสวนป่าลงทะเบียนตามกฎหมายถึง 65,000 แห่ง และเป็นประเทศซึ่งปลูกต้นไม้ 6 ล้านต้นต่อวัน (ทั้งไม้เนื้ออ่อน(ไม้จำพวกสน)และไม้เนื้อแข็ง)

ขณะนี้มีการคาดการณ์ว่า ความต้องการป่าไม้เนื้อแข็งของอเมริการจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ดังนั้น รัฐบาลกลาง, มลรัฐต่างๆ และภาคเอกชน จึงได้พยายามตอบสนองการคาดคะเนความต้องการที่เพิ่มขึ้น และจะดำเนินต่อไปด้วยการ : (1) พัฒนาเทคนิคการปรับปรุงการจัดการป่าไม้; (2) พัฒนาเทคนิคและระบบการปรับปรุงเพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์สูงสุดของต้นยไม้จากการทำไม้; และ (3) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือปรับปรุงการตลาดสำหรับไม้ชั้นคุณภาพต่ำ และชนิดไม้ระดับชั้นรอง

ลักษณะสภาพป่าไม้เนื้อแข็งของสหรัฐ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาวะของดินในท้องถิ่นนั้นๆ สภาพพื้นที่ปลูกไม้เนื้อแข็งอันกว้างใหญ่ไพศาลของสหรัฐ และสภาพการผสมผสานกันของสภาพอากาศและดินหลายประเภททำให้เกิดชนิดของไม้นานาพันธุ์

ป่าไม้เนื้อแข็งส่วนใหญ่มีอยู่ในภาคตะวันออกที่สามของสหรัฐ แบ่งเขตของพื้นที่5 เขต ซึ่งมีสภาพประเภทของป่าที่แตกต่างกัน เขตเหล่านี้แบ่งเป็นเขตแอปปาเลเชี่ยน, เขตภาคใต้, เขตภาคเหนือ, เขตภาคกลาง และเขตภาคตะวันตก

เขตภาคใต้ครอบคลุมตามแถบชายฝั่ง จากรัฐแมรี่แลนด์ ไปจนถึงเท็กซัส ถัดขึ้นไปจากนั้นเป็นภาคเหนือ ครอบคลุมตั้งแต่เขตพื้นที่ต่ำของรัฐโอคลาโฮม่า, อาร์คันซอส์ และมิสซูรี่, และทางตะวันออกผ่านหุบเขาลุ่มแม่น้ำโอไฮโอนี้ คือเขตที่ผลิตไม้เนื้อแข็งที่หใหญ่ที่สุด ชนิดไม้หลัก คือ ไม้จำพวก กัม, เร็ด และไว้ท์โอ๊ค, ฮิคกอรี่, อเมริกันทิวลิปวู้ด, แอช, แฮคเบอรี่, คอต้อนวู้ด และยังมีไม้เนื้ออ่อนหรือไม้จำพวกสนด้วย เช่น ไม้เซาท์เทิร์นเยลโลว์ไพน์

เขตเทือกเขาแอปปาเลเชี่ยน ครอบคลุมพื้นที่เทือกเขาแถบ นอร์ธคาโรไลน่า, เวอร์จิเนีย, เคนตั๊คกี้, เทนเนสซี่, แมรี่แลนด์, เซาท์คาโรไลน่า, จอร์เจีย, โอไฮโอ, เพนซิลเวเนีย และนิวยอร์ค ชนิดไม้หลักใหญ่ในเขตนี้ได้แก่ เร็ด และไว้ท์โอ๊ค, อเมริกันทิวลิปวู้ด, เชอรรี่, วอลนัท, เมปิ้ล, แอช, และฮิคกอรี่

เขตภาคเหนือนั้น ขยายขอบเขตตั้งแต่กลุ่มมลรัฐนิวอิงแลนด์, กลุ่มรัฐแถบทะเลสาบใหญ่ และส่วนเหนือของหุบเขามิสซิสซิปปี้ ชนิดไม้ในพื้นที่แถบนี้ได้แก่ เมเปิ้ล, โอ๊ค, แอช, เบริ์ช, บาสวู้ด และอีสเทิร์นไว้ท์ไพน์

เขตภาคกลาง ครอบคลุมบางส่วนของมลรัฐ 13 รัฐ ที่ตั้วอยู่ในเขตที่ราบต่ำของภาคกลาง ชนิดไม้หลักได้แก่ วอลนัท, โอ๊ค, ฮิคกอรี่, แอช, เมเปิ้ล, อเมริกันทิวลิปวู้ด, บาสวู้ด, และคอตต้อนวู้ด

เขตภาคตะวันตกนั้นโอบล้อมส่วนที่เหลือของสหรัฐกันฮาวายและอลาสก้า ชนิดไม้นั้น ได้แก่ พรรณไม้เนื้ออ่อน (ไม้จำพวกสน) นานาพันธุ์แถบตะวันตก และไม้เนื้อแข็งภาคตะวันตกบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้แอลเดอร์

พื้นที่เขตต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ให้ผลของพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ ซึ่งแยกแยะในแต่ละเขตของสหรัฐอย่างเห็นได้ชัด ไม้โอ๊ค, เมเปิ้ล, แอช และวอลนัท เป็นตัวอย่างของไม้ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างของเนื้อไม้ ตลอดจนคุณสมบัติที่ต้องการสำหรับการใช้ประโยชน์แต่ละประเภท แปรผันแตกต่างกันไปในแต่ละเขตพื้นที่

เนื่องจากมีพันธุ์ไม้นานาชนิดของต้นไม้ที่สามารถป้อนลูกค้าไม้เนื้อแข็งได้ ป่าไม้ในสหรัฐจึงสามารถให้ไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกประเภท

2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณค่ะ ข้อมูลเป็นประโยชน์มากเลย
    >w<// ได้รู้เรื่องที่ไม่เคยรู้รู้ ขอบคุณจริงๆค่ะ

    ตอบลบ