เนเชอรัล ลัมเบอร์

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความหนามาตรฐานสำหรับไม้แผ่นแปรรูปเลื่อยหยาบ

ความหนามาตรฐานสำหรับไม้แผ่นแปรรูปเลื่อยหยาบใช้หน่วยวัดเป็น 1/4 นิ้ว กล่าวคือ 1" จะแสดงเป็น 4/4
การแปรรูปเนื้อแข็งอเมริกันส่วนใหญ่จะเลื่อยให้หนาระหว่าง 1" ถึง 2" ความหนาขนาดอื่นก็มีให้เลือกเหมือนกันแต่ในปริมาณจำกัด
ข้างล่างนี้เป็นความหนามาตรฐานแสดงเป็นนิ้วและเป็นมิลลิเมตร

3/4 (3/4" = 19.0mm.)
8/4 (2" =50.8mm.)
4/4 (1" = 25.4mm.)
10/4 (21/2" =63.5mm.)
5/4 (11/4" = 31.8mm.)
12/4 (3" =76.2mm.)
6/4 (11/2" = 38.1mm.)
16/4 (4" =101.6mm.)
ความหนามาตรฐานสำหรับไม้แผ่นแปรรูปที่แต่งผิวหน้าไม้แล้ว (Surfaced lumber)

หลังจากการแต่งผิวหน้าไม้เลื่อยหยาบแล้ว ถ้าปรากฎตำหนิบนไม้ เช่น รอยปริ รอยด่าง การบิดงอ ในการจัดชั้นคุณภาพจะไม่ถือว่าไม้แผ่นนั้นมีตำหนิ ตราบใดที่สามารถกำจัดมันออกได้โดยกระบวนการใสผิวหน้าไม้

ความหนาหลังแต่งผิวหน้าไม้ของไม้แผ่นแปรรูป หาได้โดย:
--สำหรับไม้แปรรูปหน้า 1 1/2 หรือน้อยกว่านั้น ให้เอา 3/16 หักออก ก็จะได้ความหนาสุทธิหรือความหนาหลังแต่งผิวหน้าไม้ (finished thickness)
--สำหรับไม้แปรรูปหน้า 1 3/4 หรือมากกว่านั้นให้เอา 1/4 หักออก ก็จะได้ความหนาสุทธิหรือความหนาหลังแต่งผิวหน้าไม้

การวัดขนาดไม้กระดานเนื้อแข็งแปรรูปที่อบแห้งด้วยเตาอบไม้ (kiln dried lumber)

-หลังการอบแห้งด้วยเตาอบ
อาจนำไม้กระดานเนื้อแข็งแปรรูปมาวัดขนาดคิดเป็นบอร์ดฟุตโดยใช้สูตรเดียวกับที่อธิบายข้างต้น ผลที่ออกมา เรียกว่า net tally หรือ จำนวนสุทธิ
-และยังมีสิ่งที่เรียกว่า จำนวนเบื้องต้น (gross หรือ green tally) คือปริมาณไม้แปรรูปก่อนการทำแห้งด้วยเตาอบถ้าตกลงซื้อขายไม้กระดานแบบเบื้องต้นคือก่อนการอบแห้ง ผู้ซื้อจะได้กระดานไม้แปรรูปที่น้องลงคิดเป็นบอร์ดฟุตประมาณ 7% เมื่อนำไปใช้งานจริง เพราะถ้านำไปใช้อบแห้งจะเสียไม้ไปเนื่องจากการหดตัวของเนื้อไม้

วิธีการคำนวณหาปริมาณไม้ที่เก็บกองอยู่

ในกรณีนี้จะใช้หน่วยวัดเป็นบอร์ดฟุตเหมือนกัน

การหาค่าบอร์ดฟุตของไ้ม้กระดานหนึ่งแผ่น ใช้วิธีเอา SM (ขนาดของพื้นที่ผิวหน้าไม้) คูณกับความหนาของกระดานกาำรคำนวณหา่ค่าบอร์ดฟุตของไม้กระดานที่วางรวมกันเป็นกองก็ใช้วิธีเดียวกันคือ

1. คำนวณหาค่า SM ของไม้ที่กองรวมกันหนึ่งชั้น (layer) ก่อน ซึ่งกระทำโดยวัดความกว้างสุทธิของทั้งกองไม้ (อย่าลืมหักขนาดช่องว่างระหว่างไม้กระดานที่อาจมีออก ดังในรูป ข้างล่างนี้ เพื่อให้ได้ความกว้างสุทธิ) แล้วนำไปคูณกับความยาวของกองไม้ (ถ้าในกองไม้มีไม้กระดานที่ความยาวแตกต่างกันออกไปให้หาและนำความยาวเฉลี่ยมาใช้แทน) ได้เท่าไหร่ให้หารด้วย 12
2. พอได้ค่า SM ของไม้กระดานหนึ่งชั้นแล้ว ให้นำค่านี้ไปคูณกับความหนาของไม้หนึ่งชั้นจะได้ปริมาตรคิดเป็นบอร์ดฟุตของไม้หนึ่งชั้น
3. นำจำนวนนี้ไปคูณกับจำนวนชั้นของไม้ในกอง จะได้ค่าบอร์ดฟุตหรือปริมาตรของไม้กระดานแปรรูปทั้งกอง
ตัวอย่างเช่น
-- ความกว้างเฉลี่ยของไม้กองหนึ่ง= 40" (หมายถึงไม้แปรรูปหลังการปรับระยะระหว่างแผ่นไม้ให้มีช่องว่างน้อยที่สุด)
-- ความยาวของกอง = 10'

ฉะนั้น 40" x 10' = 400 / 12
= 33.33
-- ความหนาของไม้กระดานแปรรูปแบบ 8/4 หนึ่งแผ่น
คือ x 2 เอา 33.33 x 2 =66.66
นี่คือค่าบอร์ดฟุตของไม้กระดานหนึ่งชั้น
-- กองนี้มีทั้งหมด 10 ชั้น จึงเอา 10x66.66 =666.67




บทความโดยสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิธคำนวนหาปริมาตรของไม้แปรรูป

กฏเกณฑ์การจัดชั้นคุณภาพไม้แปรรูปอเมริกันของสมาคมไม้เนื้อแข็งแปรรูปแห่งชาติจะใช้หน่วยวัดแบบ อิมพีเรียล กล่าวคือ ใช้ตัววัดเป้นฟุตและเป้นนิ้ว ในขณะที่ในตลาดส่งออกส่วนใหญ่จะคุ้นกับระบบเมตริก คือตัววัดเป็นเมตรกับเซนติเมตรมากกว่า อนึ่ง ขนาดไม้แปรรูปมาตรฐานที่ใช้ในการคำนวณต่างๆ นั้นจะมาจากการสุ่มตัวอย่างจากไม้แปรรูปหลากหลายขนาดทั้งในแง่ความกว้างและยาว

บอร์ดฟุต (Board Foot หรือ ตัวย่อ BF)
บอร์ดฟุตคือหน่วยที่ใช้เวลาคำนวณหาปริมาตรของไม้แปรรูปเนื้อแข็ง :
หนึ่งบอร์ดฟุต มีค่าเท่ากับ ความยาว 1 ฟุต x ความกว้าง 1 ฟุต x ความหนา 1 นิ้ว ( 1 ฟุต = 0.305 เมตร 1 นิ้ว = 25.4 มม.)

สูตรในการคำนวณหาค่าบอร์ดฟุตในแผ่นไม้แปรรูปหนึ่งแผ่นคือ :
ความกว้างเป็นนิ้ว x ความยาวเป็นฟุต x ความหนาเป็นนิ้ว แล้วหารด้วย 12 = (จำนวน) บอร์ดฟุต

สัดส่วนของไม้ไม่มีตำหนิในไม้กระดานแปรรูป ในชั้นคุณภาพต่างๆ ของไม้เนื้อแข็งอเมริกันจะคำนวณจากหน่วยวัดข้างบนนี้

ตัวอย่างเช่น
กว้าง x ยาว x หนา
(12" x 12' x 1") หารด้วย 12 = 12 บอร์ดฟุต
( 8" x 6' x 2") หารด้วย 12 = 8 บอร์ดฟุต

พื้นผิวหน้าไม้ (surface measure หรือ SM)

SM คือ ขนาดพื้นที่ผิวหน้าของไม้กระดานแ่ผ่นหนึ่งวัดเป็นตารางฟุต หาค่าได้โดย
วัดความกว้างของแผ่นไม้เป็นนิ้ว คูณกับความยาวของแผ่นเป็นฟุต แล้วหารด้วย 12
ถ้าค่าใดๆ มีเศษส่วนให้ปัดเป็นตัวเลขเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด

ตัวอย่างเช่น
6 1/2" x 8' หารด้วย 12 = 4 1/3 ปัดเป็น = 4' SM

8" x 12' หารด้วย 12 = 8 ' SM

10" x 13' หารด้วย 12 = 10 10/12 ปัดเป็น = 11' SM



ฉะนั้น ไม้แปรรูปแผ่นหนึ่งจึงวัดได้สองแบบ คือ SM และ BF ดัวตัวอย่างต่อไปนี้
สมมติว่าไม้กระดานข้างบนนี้ หนา 2" กว้าง 6 1/4" แล้วยาว 8' ตามสูตรข้างต้น จะได้ :
-- 6 1/4" x 8' หารด้วย 12 = 4 1/4 SM ซึ่งเราปัดเป็น 4' SM
--และถ้าเราจะหาค่าเป็น BF ของไม้แปรรูปแผ่นนี้ ก็นำเอา ค่า SM ที่ได้คำนวณแล้วมาคูณกับความหนา 2" จะได้ค่า BF = 8'

ในการเตรียมไม้แปรรูปสำหรับเข้ามัดหรือลงกองเพื่อส่งออก จะมีการสุ่มบันทึกไม้กระดานว่ากว้างยาวเท่าไหร่ ตัวเลขเป็นเศษส่วนจะปัดเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด ถ้าเป็น 1/2 นิ้วให้ปัดขึ้นหรือลงก็ได้
ตัวอย่างเช่น กระดานที่กว้าง 5 1/4" ยาว 8 1/2' จะถูกบันทึกเป็น กว่าง 5" ยาว 9'



บทความโดยสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

มาฮอกกานี่ : เราใช้ อาฟริกัน มาฮอกกานี่ ในสายการผลิตของเรา เป็นไม้น้ำหนักปานกลางจนถึงหนักมาก ที่ผลิตลำตัวของ Strat® ที่ให้น้ำหนักเฉลี่ย 5 ปอนด์หรือมากกว่านิดหน่อย เป็นไม้ที่มีผิวละเอียดมาก คุณสมบติเหมาะสมที่สุดกับการผลิตเครื่องดนตรี โทนเสียงที่อบอุ่นและมีซัสเทนที่ดี เนื้อไม้ที่ง่ายต่อการขัดขึ้นเงา มองดูสวยงามเมื่อเคลือบผิวแบบใส หรือทำสีแดงใส(เห็นลายไม้)


เลซวู๊ด : ไม้ชนิดนี้นำเข้ามาจาก ออสเตรเลีย จัดได้ว่าเป็นไม้น้ำหนักปานกลาง มันมีลายออกเป็นจุดเล็กๆ ไปจนถึงจุดใหญ่ เหมือนเกล็ดของสัตว์เลื้อยคลาน ที่แต่งแต้มไว้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เลซวู๊ดจะดูดีที่สุดถ้าหากนำมาทำเป็นไม้ผิวตัวบน แต่ก็ยังนำมาทำได้ทั้งตัวเช่นเดียวกัน สุ้มเสียงที่ได้มีลักษณะแบบ แอลเดอร์

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554


คอ ริน่า ขาว : ชื่อจริงของมันคือ ลิมบา จากอาฟริกา คอริน่าขาว โดยทั่วไปจัดได้ว่าเป็นไม้เนื้อปานกลาง สุ้มเสียงที่ไม่แตกต่างจาก มาฮอกกานี่ สีของไม้คือ เหลืองอ่อนปนเขียว มันจะดูโดดเด่นและมีคุณค่ามากสุดในการย้อมเคลือบให้ออกเหลือง นี่ถือได้ว่าเป็นไม้ที่สุดยอดในการผลิตลำตัวเบส คอริน่ามีความลื่นโดยธรรมชาติในตัว การเคลือบน้ำมันเหมาะที่สุดสำหรับไม้ชิ้นนี้



คอริน่า ดำ : ชื่อจริงของมันคือ ลิมบา จากอาฟริกา คอริน่าดำ โดยประโยชน์ใช้สอยทั่วไปจัดได้ว่าเป็นไม้เนื้อปานกลาง แต่ด้วยโอกาสอันสุดยอดของเรา ทำให้เราได้ไม้น้ำหนักค่อนข้างเบามา สุ้มเสียงที่ไม่แตกต่างจาก มาฮอกกานี่ และคุณลักษณะพิเศษที่มีสีสันในแบบน้ำมันมะกอก พร้อมลายเส้นสีดำ ทำให้มันสวยงามยิ่งขึ้น ถือเป็นไม้ที่สุดยอดในการนำมาทำลำตัวของเบส คอริน่ามีความลื่นโดยธรรมชาติในตัว การเคลือบน้ำมันเหมาะที่สุดสำหรับไม้ชิ้นนี้


วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554


โคอา (อะคาเซีย โคอา) : ไม้ที่สวยงามชนิดนี้ นำเข้ามาแบบพิเศษสุดจากดินแดนหมู่เกาะฮาวายเอี้ยน เพื่อผลิตชิ้นงานสุดยอดที่จำกัดจำนวนไว้น้อยมากๆ น้ำหนักที่ค่อนข้างจะแตกต่างระหว่างหนักมากจนถึงปานกลางนั้น ทำให้มันสุดแสนจะเลอเลิศสะแมนแตนซะไม่มีในการผลิตลำตัวของเบส โคอาให้เสียงอบอุ่นในแบบฉบับของ มาฮอกกานี่ แต่ก็ยังแฝงไว้ด้วยความสดใสเหมือนกับ วอลนัท เป็นไม้ที่ต้องเคลือบผิวด้วยน้ำมัน หรือโดยทั่วๆไปเพื่อความสวย งามก็ควรจะเคลือบใส บางครั้ง โคอาก็ออกลายคล้ายกับเฟลมด้วยเช่นกัน



ฟิกเกอร์ด โคอา : โคอายังให้ความสวยงามที่แตกต่างออกไป เมื่อมันพัฒนาลวดลายเป็นแบบเฟลม เรามีให้คุณได้เลือกเฉพาะผิวหน้าเท่านั้นและที่สำคัญมันเป็นวัสดุเกรดสูง เสียด้วยสิ (นั่นคือแสดงถึงราคาที่อาจจะเอื้อมลำบากหน่อยนึง สำหรับเรา)




กอง คาโล อัลเวซ : ความหนาแน่นที่สูง เนื้อละเอียดนิ่มนวล พร้อมความรู้สึกลื่นละมุนยามสัมผัส ไม่ต้องย้อมหรือเคลือบใดๆ ให้เสียเนื้อไม้ , สีที่พบได้คือ สีแทน และมีลายทางยาวสีน้ำตาลช๊อกโกเลท (สมิธ & เวสสัน นำมาผลิตเป็นด้ามปืน) ให้น้ำเสียงที่ฟังดูแล้วสะอาดและอบอุ่น , แรกสุดนิยมนำมาผลิตชิ้นคอ หรือนำมาใช้เป็นแผ่นหน้าของวัสดุลำตัว

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554


Ash ไม้แอชที่เรานำมาใช้กัน มี 2 ชนิด คือ ไม้แอชเนื้อแข็ง (ไม้แอชเนื้อแข็งจากทางเหนือ) กับ Swamp Ash (ไม้แอชเนื้ออ่อนจากทางใต้)ไม้แอชเนื้อแข็ง (ไม้แอชเนื้อแข็งจากทางเหนือ- Northern Hard Ash) จะมีเนื้อที่แข็ง หนัก และแน่นกว่า (ดูจากน้ำหนักที่มากกว่า5 ปอนด์ สำหรับกีตาร์ทรง Strat) ด้วยความหนาแน่นที่ค่อนข้างสูงของเนื้อไม้ จึงให้ได้โทนเสียงที่ดูสดใส และค้างยาวนาน (sustain) ทำให้ไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมมาก เนื้อไม้แท้มีสีครีม แต่ก็มีบ้างที่จะออกเป็นชมพูหรือสีน้ำตาลอ่อนจางๆ (หรือที่เรียกว่า ฮาร์ทวูด)เนื้อไม้ค่อนข้างหยาบ มีร่องเสี้ยนไม้และรอยตาไม้ค่อนข้างเยอะ จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการอุดลายไม้มากกว่าไม้อื่นๆ ทำให้ต้องใช้เวลามากในการทำสีพื้นผิว

ส่วน Swamp Ash (ไม้แอชเนื้ออ่อนจากทางใต้) นั้น มีน้ำหนักเบา (ด้วยน้ำหนักที่น้อยกว่า5 ปอนด์ สำหรับกีตาร์ทรง Strat) ทำให้เป็นจุดที่แตกต่างจากไม้แอชเนื้อแข็งจากทางเหนืออย่างชัดเจน กีตาร์ในรุ่นครบรอบ 50 ปีของ Fender ส่วนมากก็ทำมาจากไม้ สแวมป์ แอช นี้นี่แหละ และด้วยเนื้อไม้ธรรมชาติที่มีลายไม้ขึ้นชัดเจนสีครีม ทำให้เป็นไม้ที่เหมาะมาก สำหรับทำสีแบบใสมองทะลุเห็นเนื้อไม้ นอกจากนี้ยังเป็นไม้ที่ให้ความสมดุลของโทนเสียงใสและอบอุ่นในแนวเพลงป๊อป ถือเป็นไม้ที่สวยงามและนับเป็นไม้ยอดนิยมลำดับสองเลยทีเดียว




Basswood เป็นไม้เนื้ออ่อน มีน้ำหนักเบา (ถ้าใช้ทำเป็นกีตาร์ทรง Strat ก็หนักแค่ไม่ถึง 4 ปอนด์) เนื้อไม้มีสีขาว มักมีสีเขียวพาดแซมในลายไม้ ลายเสี้ยนไม้ละเอียดถี่ชิดกัน และสามารถดูดซับวัสดุเคลือบผิวได้ดี แต่ไม่เหมาะกับการทำเคลือบผิวแบบใส ให้เสียงกลางที่นุ่ม กังวาน อบอุ่น




Bubinga บูบิงก้า เป็นไม้เนื้อแข็ง จึงนิยมนำมาทำเป็นคอเบส และเป็นไม้ที่มีน้ำหนักมาก จึงมักใช้เป็นไม้ปะหน้า ในการนำมาใช้ทำคอเบส มันจะให้ช่วงเสียงกลางที่ใส และเสียงต่ำที่หนาทุ้มดี


Rickenbackerใช้ไม้บูบิงก้าทำเฟร็ตบอร์ดส่วWarwick ใช้ไม้บูบิงก้ามาทำบอดี้กีตาร์ ซึ่งการนำไม้บูบิงก้ามาทำเป็นบอดี้กีตาร์นั้น จะได้กีตาร์ที่มีน้ำหนักมาก แต่คุณก็ จะได้เสียงค้างยาว (sustain) ได้นานนนนเลยเชียว







วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไม้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง


เกี่ยวกับ : เรื่องราวของไม้ที่ใช้ในการทำกีตาร์ หลายๆ คนคงเคยเล่นกีตาร์กันมาไม่มากก็น้อยแต่เคยรู้กันมั้ยว่า กีตาร์ที่คุณเล่นนั้นทำมาจากไม้อะไร และให้โทนเสียงอย่างไร ถ้าคุณสนใจล่ะก็ ตามไปอ่านกันได้เลย

ไม้ที่ใช้ทำกีตาร์นั้นมีตั้งแต่ไม้ถูกๆ อย่างไม้อัด ไปจนถึงไม้หรูหราอลังการงานสร้างอายุเป็น 100 ปีกันเลยทีเดียวเชียว ไม้แต่ละอย่างนั้นก็มีลักษณะเด่นในแบบฉบับของตัวเอง เรียกได้ว่าไม้ที่ใช้ในการทำกีตาร์นั้นมีผลต่อเสียงอย่างมาก จะบอกว่า ไม้ดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ก็คงไม่ผิดเรามาเริ่มกันที่ สามองค์ประกอบสำคัญในการเลือกเนื้อไม้สำหรับกีตาร์ตัวโปรดของคุณ อย่าง ที่เรากล่าวไว้แล้ว ว่า ไม้แต่ละชนิดจะมีลักษณะของลายไม้ด้านความสวยงาม และให้สุ้มเสียงที่มีลักษณะแตกต่างกันไป วันนี้ เรามาทำความรู้จักกับไม้แต่ละชนิดกัน เผื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจให้กับกีตาร์ตัวต่อไปของคุณ


ไม้ชนิดแรกที่เราจะมาแนะนำในวันนี้ คือไม้แอลดเดอร์
ไม้แอลเดอร์ เป็นไม้ที่นิยมใช้ในการผลิตลำตัวกีตาร์ เพราะน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา (ประมาณ 4 ปอนด์ สำหรับกีตาร์ทรง Strat) และให้น้ำเสียงที่เต็ม เนื่องจากเนื้อไม้มีลายเสี้ยนละเอียด ทำให้ง่ายต่อการเคลือบผิวหรือลงสีผิว สีไม้แอลเดอร์ธรรมชาติจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ และจะมีลายวงปีที่ดูเป็นระเบียบสม่ำเสมอ เหมาะกับการทำสี ทั้งแบบสีซันเบิร์ส และสีทึบสีเดียว ไม้ชนิดนี้นิยมปลูกกันมากแถบวอชิงตัน

ด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และราคาไม่แพง ทำให้ไม้แอลเดอร์เป็นไม้ที่เป็นที่นิยมอย่างมาก นอกจากนี้ คุณลักษณะของเนื้อไม้ ทำให้ได้เสียงที่คงที่ ทั้งโทนเสียง ต่ำ กลาง และสูง และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ไม้แอลเดอร์เป็นไม้หลักที่ใช้ในการผลิตเป็นลำตัวของ Fender มานานหลายปี

1. ลักษณะของไม้ ไม้แต่ละชนิดนั้น มีเอกลักษณ์เป็นของตัวของมันเองโดยธรรมชาติ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นไม้ตระกูลเดียวกัน แต่ไม้แต่ละชิ้นก็ยังมีความแตกต่างกันอยู่ดี ไม้แต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกันใน ลายเนื้อไม้, สี, ความเข้ม, น้ำหนัก, ความหนาแน่นของเนื้อไม้ มันไม่สำคัญว่าไม้ชิ้นเดียวนั้นดีที่สุดหรือไม่ดีที่สุด แต่ที่สำคัญก็คือ ความแตกต่างของเสียงและความเป็นเอกลักษณ์เท่านั้น การเลือกไม้กีตาร์นั้น คุณก็แค่เลือกไม้ที่มันเหมาะสมกับรสนิยมของคุณเท่านั้นเอง แต่ถ้าเกิดไม้หลักที่คุณเลือกนั้นมันฟังแล้วขัดใจคุณ แต่ดันมีลายสวยถูกใจแล้วล่ะก็ คำตอบสุดท้ายของคุณอาจจะเป็น การใช้แผ่นไม้บางๆ (Laminate top) แปะด้านท้อปของกีตาร์นั่นเอง นั้นแหละ คุณก็จะได้กีตาร์ในโทนเสียงที่คุณต้องการพร้อมกับลายไม้ที่โดนใจคุณ โดยที่มันจะไม้ไปรบกวนโทนเสียงของเนื้อไม้หลักของกีตาร์ของคุณ
2. เสียงและน้ำหนักเสียง ของไม้แต่ละชนิดนั้น แปรผันไปตามตระกูลของไม้ น้ำหนัก และความหนาแน่น โดยทั่วไป ไม้ที่มีน้ำหนักมากจะให้เสียงค้าง (sustain) ที่ยาวนานกว่า สว่างกว่า และชัดเจนกว่า ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะที่ดีของเบสกีตาร์เลยทีเดียว ส่วนไม้ที่มีน้ำหนักเบามากๆ จะให้ซาวนด์ที่ไม่ชัดเจนและขุ่น โดยเฉพาะถ้าจับคู่กับปิ๊คอัพแบบ Humbucker ส่วนไม้น้ำหนักกลางๆ ก็อยู่ตรงกลางระหว่างคุณลักษณะของทั้งสองแบบ และยังเป็นแบบที่นิยมใช้กันมาช้านานแล้วด้วย หรืออาจจะใช้ไม้ที่หนักแต่ข้างในเป็นโพรง ซึ่งบอดี้แบบนี้มันยังคงความแข็งอยู่ แต่ก็มีนำ้หนักที่เบา แล้วให้โทนเสียงที่ อ้วนเต็มเม็ด และมีเสียงที่ค้างยาวใช้ได้เลย
3. การเคลือบผิวกีตาร์คุณ ชอบการลงเคลือบผิวบอดี้กีตาร์แบบไหน? คุณสามารถทำมันเองได้ด้วยนะ เช่นการใช้น้ำมัน Tung หรือน้ำมัน Danish มันเป็นวิธีที่ง่ายดี และทำให้ตัวบอดี้กีตาร์ของคุณดูมืดและเข้มขึ้น เหมือนพวกไม้โคอะ (koa) วอลนัท (walnut) โคริน่า (korina) ในขณะที่การเคลือบสีผิวแบบสว่างๆ นั้นเหมาะกับพวกไม้ Western maple สีขาว การเคลือบผิวแบบใสๆ นั้นจะดูเยี่ยมมาก ถ้าเคลือบลงบนไม้ที่มีลายบนไม้ชัดๆ อย่างเช่นไม้ แอช (ash) แต่ถ้าเป็นการเคลือบสีผิวแบบแวววาวนั้น คุณสามารถฉีดสเปรย์บนไม้ใดก็ได้ แต่ถ้าคุณไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือแบบมืออาชีพ... มันก็ยากเอาเรื่องอยู่

ขอขอบคุณบทความดี ๆ จาก guitarist thailand