เนเชอรัล ลัมเบอร์

วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะเฉพาะบางประการของไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

ต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะบางประการของไม้เนื้อแข็งอเมริกัน
บางลักษณะจะพบในไม้เนื้อแข็งอเมริกันบางสกุล บางลักษณะจะพบในไม้เนื้อแข็งทุกสกุล
คุณสมบัติเฉพาะดังกล่าวอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือจากกระบวนการทำไม้ให้แห้ง

อย่างที่กล่าวในตอนต้นการจัดเกรดไม้เนื้อแข็งแปรรูปอเมริกันจะพิจารณาสัดส่วนของเนื้อไม้ไม่มีตำหนิในแผ่นกระดานเป็นหลัก ลักษณะไม้ต่อไปนี้ NHLA ไม่ถือว่าเป็นตำหนิจึงให้เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นไม้ไม่มีตำหนิได้

แก่นไม้ (Heartwood) และกระพี้ (Softwood)
แก่นไม้จะเป็นไม้ที่มีภาวะเจริญเต็มที่แล้วมักจะมีสีเข้ม
กว่ากระพี้ และเป็นส่วนของเนื้อ ไม้ที่อยู่ระหว่างกระพี้
กับใจไม้ (Pith) กระพี้ตาตรงกลางจะมีสีอ่อนกว่าเป็น
เนื้อไม้ที่อยู่ในระหว่างชั้นในของเปลือกไม้กับแก่นไม้





ลายวน (Burl)มีลักษณะเป็นลายวน เป็นชั้น ๆ ในเสี้ยนไม้แต่ไม่มีตาตรงกลาง









ลายยางไม้ (Gum Streaks) เป็นริ้วมีสีคล้ายหินแร่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติในไม้เชอรี่เท่านั้น






ลายแถบสีหินแร่ (Mineral Streaks) เป็นริ้วสีเขียวแก่แบบลูกมะกอกหรือสีน้ำตาลเคล้าดำ ริ้วจะทอดนอนตามแนวเสี้ยน








ริ้วรอย Glass Worm มีรายริ้วเป็นชั้น ๆ เหมือนลายหินแร่ เกิดขึ้นในไม้ยางไม่มีรูปแบบส่วนใหญ่พบในต้นแอช






รอยไม้คั่น (Streaks Mark)
เป็นรอยที่เกิดขึ้นจากไม้คั่นที่ใช้ตอนทำไม้ให้แห้งรอยนี้สามารถลบออกได้ในกระบวนการใสผิวหน้าไม้ จึงไม่ถือว่าเป็นตำหนิ




ข้อสังเกต: ในบางพันธุ์ไม้เช่นเมเปิลและแอช แผ่นกระดานแปรรูปมีกระพี้สีอ่อนเป็นสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับแก่นไม้ จะเป้นที่ต้องการมากแต่ในทางตรงกันข้าม ในบางพันธุ์เช่นไม้เชอร์รี่ โอ๊ค วอลนัท การมีสัดส่วนแก่นไม้มากๆ และกระพี้น้อยๆ จะเป็นสิ่งที่ต้องการมาก ฉะนั้น ผู้ซื้อจำเป็นต้องศึกษาพัิินธุ์ไม้แต่ละพันธุ์อย่างละเอียด รวมทั้งศึกษาลักษณะพื้นที่ป่าต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาด้วย สภาพอากาศ สภาพดิน สิ่งแวดล้อมของป่า เช่น เป็นเนินเขาหรือหุบเขา ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดลักษณะการเจริญเติบโตของต้นไม้ืทั้งสิ้น กฎเกณฑ์ของ NHLA เป็นกรอบสำหรับการเจรจาซื้อขายไม้แปรรูปในชั้นเบื้องต้นเท่านั้น เวลาเจรจากันเกี่ยวกับพันธุ์ไม้เฉพาะ อาจยืดหยุ่นได้
ข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับแต่ละพันธุ์ไม้เนื้อแข็งอเมริกันจะอ่านได้จากสิ่งตีพิมพ์เชิงวิชาการต่างๆ ของสมาคมส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน (AHEC) ได้


บทความจากสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เก็บมาฝาก


ไม้แอลเดอร์ (Alder wood)
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Alnus glutinosa พบได้ทั่วไปตั้งแต่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป รวมทั้งบางส่วนของทวีปเอเชียตะวันตกลักษณะทั่วไป : เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมชมพูอ่อน ถึงเกือบขาวและมีลายเสี้ยนที่เห็นได้ชัดคุณสมบัติพิเศษ : ทนต่อความชื้น และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดี ความต้านทานต่อการแตกร้าวเมื่อตอกตะปูดีเยี่ยมการใช้งาน : เนื้อไม้อัลเดอร์ มีการหดและขยายตัวน้อยมากจึงไม่ปริแตกง่าย อีกทั้งเสี้ยนไม้ยังมีความละเอียดมาก เฟอร์นิเจอร์ไม้อัลเดอร์ที่ผ่านการขัดตกแต่งอย่างปราณีตแล้ว จะมีความเนียนสวยงาม น่าสัมผัสเป็นอย่างยิ่ง
ไม้แอช (Ash wood)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Fraxinus americana (Oleacea) พบมากทางฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ขนาดใหญ่ หนัก แข็งแรง แข็ง เหนียว เนื้อไม้มีสีขาวครีมไปจนถึงสีน้ำตาลอ่อนคุณสมบัติพิเศษ : มีความเหนียวและแข็งแรงเป็นพิเศษ สามารถทนต่อแรงกระแทกได้เป็นอย่างดีการใช้งาน : ไม้แอช มีลวดลายเด่นชัดสวยงาม มีเนื้อไม้ที่ดูสะอาดตา ปัจจุบันจึงนิยมนำมาใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์เป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะสร้างชิ้นงานได้หลายรูปแบบแล้ว ยังมีความสวยงาม และทนทานมากกว่าไม้ชนิดอื่น ๆ ด้วย
ไม้โอ๊คขาว (White Oak wood)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Quercus Alba (White Oak) พบมากบริเวณภาคตะวันออกของอเมริกาลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอ่อนคุณสมบัติพิเศษ : เป็นไม้ที่มีเสี้ยนที่ละเอียด มีลวดลายสวยงามชัดเจน มีความแข็งแกร่ง เหนียวและหนักสามารถต้านทานการเน่าเปื่อยได้ดีการใช้งาน : ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่ทนการเน่าเปื่อยได้ดี จึงนิยมนำไม้ไวท์โอ๊คมาทำถังหมักเหล้าและไวน์ รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ทั้งภายในและเฟอร์นิเจอร์สนาม เนื่องจากมีลวดลายที่สวยงามชัดเจนอีกด้วย

ขอบคุณ บทความดี ๆ จาก

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

นำมาทำกีร์ตาร์

ส่วนลำตัว นิยมใช้ไม้แอลเดอร์
ไม้แอลเดอร์ มีน้ำหนักเบา
สีน้ำตาลอมชมพูอ่อน ถึงเกือบขาว
มีลายเสี้ยนเห็นได้ชัด และเป็นธรรมชาติ
ความหนาแน่นของเนื้อไม้ดี สามารถทำงานง่าย
คุณสมบัติการตกแต่ง และความต้านทาน
ต่อการแตกร้าวเมื่อตอกตะปูดีมาก
การติดกาว ดีมาก

ALDER SUPERIORS 2 นิ้ว


หน้ากว้าง 4 นิ้ว UP
ความยาว 8 ฟุต

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การสำรวจไม้ไม่ จำกัด


การสำรวจไม้ไม่ จำกัด
  • ไม้จริงจะใช้ในการประมาณ 89% ของเฟอร์นิเจอร์ casegood ทั้งหมด
  • เชอร์รี่เป็นที่นิยมมากที่สุด, สีแดงและสีโอ๊คสีขาวยังคงแข็งแกร่ง
  • บางชนิดที่มีเสร็จสิ้นและเชอร์รี่เมเปิ้ลดูเหมือนจะตัดเป็นตัวเลขและเชอร์รี่เมเปิ้ล

วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แนะนำให้ชาวอเมริกันไม้เนื้อแข็ง


การใช้ไม้จากไม้เนื้อแข็งอเมริกันเพราะเหตุใด
  • จากแหล่งจ่ายยืนจุดโ€"จะได้รับการผลิตเป็นเวลาหลายปีและจะยังคงมีการผลิต
  • จากความเห็นทางนิเวศวิทยาโ€"มันมาจากทรัพยากรอย่างยั่งยืน
  • จากการผลิตดูจุด€โ"ซัพพลายเออร์มีความน่าเชื่อถือและการผลิตมีคุณภาพสม่ำเสมอ
  • จากความเห็นของลูกค้าโ€"มันคือสิ่งที่ลูกค้าชาวอเมริกันชอบ
การสำรวจไม้ไม่ จำกัด
  • สำรวจเป็นกลางของห้องนอนและห้องรับประทานอาหาร casegood เฟอร์นิเจอร์
  • สไตล์การระบุและวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต
  • High Point Market เฟอร์นิเจอร์แห่งชาติ -- เมษายน 2000 เทียบกับ 2003
  • เริ่มต้นในการสำรวจ 1934

วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คุณสมบัติ และลักษณะของไม้ทำกีตาร์

Bubinga (Guibourtia Demeusei) เป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมนำมาทำคอของ Bass และปะหน้าเพื่อความสวยงาม ใช้ทำ Fretboard ของกีตาร์ Rickenbacker
ส่วน Warwick นำมาทำลำตัวเบส สำหรับการใช้ทำคอจะให้เสียงกลางที่สดใส และเสียงทุ้มที่หนาดีมาก เนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงนิยมนำมาใช้ปะเป็นไม้หน้าของกีตาร์เท่านั้น

Goncalo Alves (Astronium Fraxini Folium)
เป็นไม้เนื้อแน่น และเรียบ ผิวเป็นมันลื่น อยู่ได้โดยไม่ต้องทำสีทับ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลสลับลายสีช็อคโกแลตเข้ม บริษัท Smith&Wesson ใช้เป็นไม้ทำด้ามปืน (เกี่ยวกันไหมเนี่ย!) เนื้อไม้ให้เสียงที่อบอุ่นและสะอาด ส่วนใหญ่จะใช้ทำคอ และปะหน้าลำตัว

Koa (Acacia Koa)
ถ้าใครยังจำกีตาร์ของคุณ Pop(The Sun) ในยุคที่เป็นหิน เหล็ก ไฟ ได้ กีตาร์ตัวนั้นใช้ไม้ชนิดนี้ครับ เป็นไม้ที่มีลายสวยงาม แหล่งผลิตหลักคือเกาะฮาวาย แต่มีออกมาในจำนวนจำกัด เนื้อไม้มีน้ำหนักไม่คงที่อยู่ในช่วงหนักปานกลางจนถึงหนักมาก ให้เสียงที่ดีมากในการใช้ทำลำตัวของเบส เป็นไม้ที่ให้ืเสียงอบอุ่นแบบเดียวกับ Mahogany แต่จะมีความใสมากกว่านิดหน่อย สามารถเคลือบด้วยน้ำมันได้ แต่จะดูดีกว่าถ้าทำสีแบบใส

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คุณสมบัติ และลักษณะของไม้ทำกีตาร์ 2

Bubinga (Guibourtia Demeusei) เป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมนำมาทำคอของ Bass และปะหน้าเพื่อความสวยงาม ใช้ทำ Fretboard ของกีตาร์ Rickenbacker
ส่วน Warwick นำมาทำลำตัวเบส สำหรับการใช้ทำคอจะให้เสียงกลางที่สดใส และเสียงทุ้มที่หนาดีมาก เนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงนิยมนำมาใช้ปะเป็นไม้หน้าของกีตาร์เท่านั้น

Goncalo Alves (Astronium Fraxini Folium)
เป็นไม้เนื้อแน่น และเรียบ ผิวเป็นมันลื่น อยู่ได้โดยไม่ต้องทำสีทับ เนื้อไม้มีสีน้ำตาลสลับลายสีช็อคโกแลตเข้ม บริษัท Smith&Wesson ใช้เป็นไม้ทำด้ามปืน (เกี่ยวกันไหมเนี่ย!) เนื้อไม้ให้เสียงที่อบอุ่นและสะอาด ส่วนใหญ่จะใช้ทำคอ และปะหน้าลำตัว

Koa (Acacia Koa)
ถ้าใครยังจำกีตาร์ของคุณ Pop(The Sun) ในยุคที่เป็นหิน เหล็ก ไฟ ได้ กีตาร์ตัวนั้นใช้ไม้ชนิดนี้ครับ เป็นไม้ที่มีลายสวยงาม แหล่งผลิตหลักคือเกาะฮาวาย แต่มีออกมาในจำนวนจำกัด เนื้อไม้มีน้ำหนักไม่คงที่อยู่ในช่วงหนักปานกลางจนถึงหนักมาก ให้เสียงที่ดีมากในการใช้ทำลำตัวของเบส เป็นไม้ที่ให้ืเสียงอบอุ่นแบบเดียวกับ Mahogany แต่จะมีความใสมากกว่านิดหน่อย สามารถเคลือบด้วยน้ำมันได้ แต่จะดูดีกว่าถ้าทำสีแบบใส

วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะ และคุณสมบัติของไม้ทำกีตาร์

Alder (Alnus Rubra) เป็นไม้ที่ถูกนำมาใช้ในการสร้างลำตัวกีตาร์กันอย่างแพร่หลาย เพราะว่ามีน้ำหนักค่อนข้างเบา และให้เสียงที่ออกเต็ม เนื่องจากมีลายเสี้ยนที่อยู่ชิดกันจึงทำให้สามารถทำสีได้อย่างสะดวก สีของไม้แท้ๆจะมีสีน้ำตาลอ่อน ลวดลายของวงปีจะคล้ายๆกัน ไม่มีแปลกแยกเท่าใดนัก เป็นไม้หลักที่ Fender นำมาใช้ทำลำตัวมาอย่างยาวนาน ให้ความสวยงามในการทำสีทั้งแบบ Sunburst และสีทึบ

Ash (Fraxinus Americana) นิยมใช้กัน 2 ชนิดคือ Northern Hard Ash กับ Swamp Ash (Southern Soft Ash) ชนิด Hard Ash จะมีเนื้อที่แข็ง หนัก และแน่นกว่า ด้วยเนื้อที่แน่นนั้นทำให้เสียงที่ได้มีความใส และค้างยาว จึงเป็นที่นิยมกัน สีตามธรรมชาติจะเป็นสีครีม แต่บริเวณแกนอาจมีสีอมชมพูจนถึงน้ำตาลได้
มีรูเสี้ยนค่อนข้างห่าง ทำให้เวลาทำสีต้องใช้เวลามากในการทำสีกลบรูเสี้ยนจนเต็มเพื่อผิวที่เรียบ ส่วนชนิด Swamp Ash นั้นจะมีราคาที่ย่อมเยาลงมาหน่อย เป็นไม้ที่ให้เสียงที่เป็นดนตรี ให้ความสมดุลระหว่างเสียงที่ใสกับอบอุ่นได้อย่างลงตัว มีความนุ่มนวลระรื่นหู เนื่องจากมีน้ำหนักที่เบากว่าจึงทำให้เป็นที่นิยมมากกว่า Fender ในยุค '50s นั้นจะทำมาจาก Swamp Ash เป็นส่วนใหญ่ เนื้อไม้ธรรมชาติมีลายวงปีจะขึ้นชัดเจนสีครีม เป็นไม้ที่นิยมนำมาทำสีแบบใสมองทะลุเห็นเนื้อไม้

Basswood (Tilia Americana) เป็นไม้ที่มีน้ำหนักเบา เนื้ออ่อน เนื้อไม้มีสีขาวและ มีจุดสีเขียวปนอยู่บนเนื้อด้วย มีเสี้ยนที่อยู่ชิดกัน สามารถดูดซับสีได้หลากหลายรูปแบบ แต่ไม่เหมาะกับการทำสีแบบใส ให้เสียงที่ออกไปทางอบอุ่น เป็นไม้ที่ Ibanez นิยมนำมาทำลำตัวกีตาร์มากกว่าใคร

ที่มา : www.guitaristthailand.com

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะของไม้แอลเดอร์

ไม้แอลเดอร์เป็นไม่ที่อุดมและโตเร็วในแถบ Pacific Northwest มีสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนถึงเกือบขาว ระหว่างแก่นไม้ (heart wood) และเปลือกไม้ (sap wood) จะมีสีไม่แตกต่างกันมาก ส่วนเนื้อไม้มีความหนาแน่น และมีลายเสี้ยนที่เห็นได้ชัด ซึ่งมีความเป็นธรรมชาติเฉพาะตัว คือลายในเนื้อไม้จะเป็นวง ๆ คล้ายกับม้ เมเปิ้ล (Maple) และเชอรี่ (Cherry) ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวไม้แอลเดอร์ (Alder) จึงเป็นไม้ที่ใช้กันแพร่หลายในกลุ่มลูกค้าในญี่ปุ่น และยุโรป มาแล้ว





วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

8/4 ALDER SUPERIORS




ไม้แอลเดอร์ เป็นไม้ที่นิยมใช้ในการผลิตลำตัวกีตาร์ เพราะน้ำหนักที่ค่อนข้างเบา (ประมาณ 4 ปอนด์ สำหรับกีตาร์ทรง Strat) และให้น้ำเสียงที่เต็ม เนื่องจากเนื้อไม้มีลายเสี้ยนละเอียด ทำให้ง่ายต่อการเคลือบผิวหรือลงสีผิว สีไม้แอลเดอร์ธรรมชาติจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนๆ และจะมีลายวงปีที่ดูเป็นระเบียบสม่ำเสมอ เหมาะกับการทำสี ทั้งแบบสีซันเบิร์ส และสีทึบสีเดียว ไม้ชนิดนี้นิยมปลูกกันมากแถบวอชิงตัน


ด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และราคาไม่แพง ทำให้ไม้แอลเดอร์เป็นไม้ที่เป็นที่นิยมอย่างมาก นอกจากนี้ คุณลักษณะของเนื้อไม้ ทำให้ได้เสียงที่คงที่ ทั้งโทนเสียง ต่ำ กลาง และสูง และด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ทำให้ไม้แอลเดอร์เป็นไม้หลักที่ใช้ในการผลิตเป็นลำตัวของ Fender มานานหลายปี

วันอังคารที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2554

การรับรอง FSC คืออะไร


  • Forest management (FM) certification

กระบวนการ การให้การรับรอง FSC FM สร้างความมั่นใจว่า บุคคล/ชุมชน/องค์กรที่เป็นเจ้าของป่าไม้นั้น ๆ จะรับผิดชอบดูแลป่าไม้ในระยะยาวถึงแม้ว่าจะเป็นการขอโดยสมัครใจก็ตาม ขั้นตอนการตรวจประเมินจะเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบหน้างานโดยหน่วยงานอิสระ ผ่านการพิจรณาหลักฐานที่เชื่อถือได้เทียบกับข้อเกณฑ์การบริหารจัดการป่าไม้ที่ดีและหลักการของ FSC ที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งกฏเกณฑ์บางเรื่องอาจยกเว้นหรือมีความแตกต่างไปตามลักษณะของป่าไม้และกิจกรรมของชุมชน สำหรับการขายวัตถุดิบจากป่าที่ผ่านการรับรองซึ่งแสดงโลโก้ไว้ที่วัตถุดิบผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารป่าไม้นั้น ๆ จะต้องได้รับการรับรอง FSC CoC z (Chain of Custoday) ด้วย ซึ่งการรับรองประเภทนี้ จะเป็นการประกันความมั่นใจว่า วัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์นี้ ได้มาจากป่าที่มีการบริหารจัดการที่ดี และเป้นจุดเริ่มของการส่งต่อคุณค่าความมั่นใจผ่านไปยังผ้อุปโภค/บริโภค ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์



  • Chain of Custody (CoC) certification

CoC (ห่วงโซ่ของการเป็นเจ้าของ) เน้นการสอบกลับของผลิตภัณฑ์ในทุก ๆ ขั้นตอนของการแปรรูป ซึ่งต้องสามารถตามกลับไปสู่ป่าไม้ที่ผ่านการรับรองที่เป็นที่มาของวัตถุดิบในผลิตภัณฑ์นั้นได้ วิธีการนี้จะเป็นการผูกโยงความมุ่งมั่นรวมกัน ตั้งแต่ผู้ผลิตแปรรูปทุกขั้นตอน จนถึงผุ้อุปโภค/บริโภคขั้นสุดท้าย



ที่มา: BUREAU VERITAS

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

เรารักโลก โลกรักเรา

FSC ใช้กระบวนให้การรับรอง และการแสดงโลโก้ติดไว้ที่ผลิตภัณฑ์ เป็นเครื่องมือให้การสื่อสารทางการตลาดกับลูกค้า ชึ่งทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากไม่ที่มาจากป่าที่ผ่านการรับรองมากขึ้นส่งผลให้ป่าไม้จากแหล่งนั้นสามารถคงความยั่งยืนจากการบริหารจัดการที่ดีของชุมชนได้ต่อไป ที่มา: BUREAU VERITAS

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

รวมภาพกีตาร์สวย ๆ














ภาพโดย oknation.net















ภาพโดย tarad.com
















ภาพโดย guitar-directory.com

















วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

ความหนาของไม้

ความหนาของไม้ alder มีตั้งแต่ 5 นิ้ว - 12 นิ้ว ความยาว 8 นิ้ว






























รูปภาพ โดย talkbass.com

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

ALDER


ไม้แอลเดอร์ (Alder wood) ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Alnus glutinosa พบได้ทั่วไปตั้งแต่ทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป รวมทั้งบางส่วนของทวีปเอเชียตะวันตก ลักษณะทั่วไป : เนื้อไม้มีสีน้ำตาลอมชมพูอ่อน ถึงเกือบขาวและมีลายเสี้ยนที่เห็นได้ชัด คุณสมบัติพิเศษ : ทนต่อความชื้น และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ดี ความต้านทานต่อการแตกร้าวเมื่อตอกตะปูดีเยี่ยม การใช้งาน : เนื้อไม้แอลเดอร์ มีการหดและขยายตัวน้อยมากจึงไม่ปริแตกง่าย อีกทั้งเสี้ยนไม้ยังมีความละเอียดมาก เฟอร์นิเจอร์ไม้อัลเดอร์ที่ผ่านการขัดตกแต่งอย่างปราณีตแล้ว จะมีความเนียนสวยงาม น่าสัมผัสเป็นอย่างยิ่ง

ขอบคุณรูปภาพจาก:Weyerhaeuser.com

AMERICAN ASH

อเมริกัน แอช (American ash) ชื่อสกุลคือ Fraxinus spp
ชื่ออื่น ๆ : Northern ash,Southern ash





บทความโดยสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน (NHLA)

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ตำหนิไม้

กฎเกณฑ์ของ NHLA ระบุว่าลักษณะดังต่อไปนี้ถือว่าเป็นตำหนิ จึงไม่อนุญาตให้มีในไม้ไม่มีตำหนิของชั้นคุณภาพต่างๆ ของ NHLA ได้


เปลือกฝังใน (Bark Pocket) เป็นการบิดเบือนในลายเสี้ยนไม้สืบเองจากเกิดเปลือกฝังในบางส่วนของแผ่นไม้


รอยนกจิก (Bird Pecks) จุดด่างเล็ก ๆ ในลายเสี้ยนเกิดขึ้นเพราะนกจิกในบางกรณีจะมีรอยเปลือกภายใน(ingrown bark)เกิดขึ้นด้วย แต่ถาพบรอยนกจิกในไม้ฮิคโครี่(Hickory)และเอล์ม (Elm)จะไม่ถือว่าเป็นตำหนิ


รอยปริ(Check)เป็นรอยปริขนาดเล็กในแนวนอนบนหน้าไม้กระดาน เป็นผลจากการทำไม้ให้แห้งไม่ถูกต้องตามกรรมวิธีหรือทำเร็วเกินไป


รอยผุ (Decay or Rot) เกิดขึ้นจากการทำลายเนื้อไม้โดยเชื้อรา ถ้าพบว่ามีการเปลี่ยนสีของไม้กระพี้นั่นป็นอาการแรกเริ่มของการผุ


ตาผุ (Unsound Knot) มีลักษณะเป็นรูปวงเดือนและมีใจไม้อยู่ตรงกลาง พบตรงเนื้อไม้ที่เคยเป็นฐานของกิ่งหรือกิ่งอ่อน(บางทีไม้ตรงนั้นจะขาดหายไป)


ตาแข็งตัน(Sound Knot) เป็นตาที่มีลักษณะตันพาดบนผิวหน้าไม้และไม่มีร่องรอยของการผุ


รอยแตก (Split)เป็นรอยแตกแยกของเนื้อไม้ในแนวยาวเกิดขึ้นในกระบวนการทำไม้ให้แห้ง นอกจากนี้ยังมัรอยร้าวเกิดจากการแยกตัวของไม้ที่อยู่ระหว่าวงปี (annual growth rings)


รอยด่างจากไม้คั่น (Sticker Stain) เป้นรอยด่าง ส่วนใหญ่สีเทา เกิดขึ้นจากไม้คั่นที่ใช้ในการทำไม้ให้แห้ง


บ่าหรือริมไม้ขาดหายไป( Wane) เนื้อไม้ตรงริมแผ่นไม้ขาดหายไปหรือมีเปลือกไม้ตรงริมแผ่น จึงเป็นตำหนิ เกิดขึ้นกับแผ่นไม้กระดานตัดมาจากส่วนของท่อนไม่ที่โค้งตามธรรมชาติ


รูหนอน (Worm Holes) รูในเนื้อไม้จากขนาด 1/16" ถึงมากกว่า 1/4"


ใจไม้ (Pith) ใจหรือแก่นไม้ลักษณะนุ่ม ๆ ที่อยู่ตรงกลางโครงสร้างของต้นไม้พอมาอยู่ในแผ่นกระดานไม้ถือว่าเป็นตำหนิ


รูเจาะ (Grub,Holes) รูมีขนาดใหญ่กว่า 1/4"


บทความจากสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน (HNAL)

วันอังคารที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2554

ไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง (No.1C) และไม้คุณภาพชั้น 2 AC (No.2AC)

ไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง (No.1C)
เป็นไม้ชั้นคุณภาพที่ในสหรัฐฯ เรียกกันว่า เกรดสำหรับทำตู้ เนื่องจากว่าสมารถนำมาดัดแปลงทำประตูตู้ในครัวขนาดมาตรฐานที่ใช้ทั่วไปในประเทศได้ง่าย ทั้งยังสามารถนำมาทำชิ้นส่วนของเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้กันทั่วไปได้ง่ายเช่นเดียวกัน ไม้คุณภาพชั้นหนึ่งคือไม้กระดานที่มีขนาดอย่างน้อยกว้าง 3” และยาว 4’ และจะต้องได้เนื้อไม้ไม่มีตำหนิอย่างน้อย 66 2/3% (8/12 x100) ถึง (แต่ไม่รวม) 83 1/3% ซึ่งตัวเลขหลังเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของไม้คุณภาพ FAS

นอกจากนี้ ไม้ที่ไร้ตำหนิจะต้องมีขนาดต่ำสุด 3” x 3’ หรือ 4” x 2’ (ดูในรูปข้างล่าง) ส่วนจำนวนแผ่นไม้ไร้ตำหนิที่อาจตัดได้จากไม้กระดานแผ่นหนึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของไม้กระดาน

คุณสมบัติดังกล่าวต้องมีในทั้งสองข้องของไม้กระดานจึงจะผ่านมาตรฐานไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง

หากด้านที่ดีกว่าของไม้กระดานมีลักษณะตรงตามข้อกำหนดของไม้เกรด FAS และอีกด้านหนึ่งไปตรงกับข้อกำหนดของไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง (No.1C) ไม้กระดานนั้นอาจจัดให้อยู่ในเกรด F1F หรือ Selects ก็ได้



ไม้คุณภาพชั้น 2AC (No. 2 AC)
ไม้คุณภาพชั้น 2AC มักเรียกกันว่าไม้เกรดประหยัด เนื่องจากว่าราคาและเนื้อไม้จะเหมาะกับการผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์หลากหลายรูปแบบและเป็นไม้เกรดที่อุตสาหกรรมผลิตพื้นไม้เนื้อแข็ง (Hardwood flooring industry) ในสหรัฐอเมริกา ชอบใช้ ไม้ที่จัดอยู่ในเกรด 2AC มีข้อกำหนดคือ ไม้กระดานจะต้องมีขนาดความกว้างอย่างน้อย 3” และความยาวอย่างน้อย 4’ และต้องมีเนื้อไม้ไร้ตำหนิอย่างน้อย 50% (6/12 x 100) และไม่เกิน 66 2/3% ของแผ่น (แต่ไม่ถึง 66 2/3%) ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำของไม้คุณภาพขั้นหนึ่ง ขนาดเล็กสุดของไม้ไร้ตำหนิในเกรดนี้ คือ กว้าง 3” ยาว 2’ จำนวนแผ่นไม้ไร้ตำหนิที่จะได้จากไม้กระดานแผ่นหนึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของไม้กระดานถ้ากระดานด้านธรรมดามีเนื้อไม้ไร้ตำหนิตรงตามคุณสมบัติเกรด 2AC และอีกด้านที่ดีกว่ามีไม้ชั้นคุณภาพสูงกว่า ไม้แผ่นนั้นก็จัดให้อยู่ในเกรด 2 AC อยู่ดี



ถ้าด้านดีของแผ่นไม้มีคุณสมบัติเข้าข่ายชั้นมาตรฐาน FAS หรือไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง แต่อีกด้านเป็นไม้ธรรมดาคุณภาพชั้น 2AC



อันที่จริง NHLA ได้จัดให้มีชั้นคุณภาพไม้เนื้อแข็งรองลงมาจาก ชั้น 2AC ไม้เกรดดังกล่าวมักจะถูกนำไปแปรรูปเป็นชิ้นส่วนย่อย ชิ้นส่วนทำพื้นเป็นไม้ใช้ในบ้านเรือนในประเทศสหรัฐฯ

ชั้นคุณภาพไม้ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นกรอบสำหรับใช้เป็นแนวทางการค้าไม้แปรรูปเนื้อแข็งอเมริกันต้องเรียนย้ำว่า กฎเกณฑ์เหล่านี้ไม่ตายตัว มีข้อยกเว้นได้ ขึ้นอยู่กับการเจรจาตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายและเป็นสิ่งที่สมาคมฯ สนับสนุน (ให้มีการเจรจากัน) ถ้าผู้อ่านสนใจศึกษาชั้นคุณภาพทั้งหมดที่จัดทำโดย NHLA รวมทั้งการอธิบายอย่างละเอียด โปรดอ่านหนังสือคู่มือ “กฎเกณฑ์การวัดและตรวจสอบไม้เนื้อแข็งและไม้ไซเปรส” ของ NHLA

บทคาวมโดยสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2554

ไม้ชั้นคุณภาพสูงสุด คือ FAS และ FAS One Face และ Selects

ไม้ชั้นคุณภาพ FAS
ไม้เกรด FAS หมายถึงไม้แปรรูปที่ไม่มีตำหนิและเป็นชิ้นยาว พัฒนามาจากเกรดที่เดิมเรียกว่า "First and Seconds" เหมาะที่สุดสำหรับใช้ทำเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูง งานตัดต่อเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ภายในอาคาร และการทำบัวขึ้นรูป ผู้ซื้อไม้ชั้นคุณภาพนี้จะได้รับแผ่นไม้กระดานแปรรูปขนาดกว้างอย่างน้อย 6" ยาวอย่างน้อย 8' และมีเนื้อไม้ไร้ตำหนิรวมแล้วเป็นสัดส่วนตั้งแต่ 8 1/3% (10/12 x 100) ถึง 100% ของแผ่น
ข้อกำหนดอีกอย่างคือส่วนของไม้ที่ไม่มีตำหนิ ต้องมีขนาด กว้าง 3” เป็นอย่างต่ำ ยาว 7’ เป็นอย่างต่ำ หรือกว่าง 4” เป็นอย่างต่ำ และยาว 5’ เป็นอย่างต่ำ
ส่วนจำนวนชิ้นไร้ตำหนิที่จะตัดได้จากไม้กระดานหนึ่ง ขึ้นอยู่กับขนาดของไม้กระดานแผ่นนั้น แต่ส่วนใหญ่ไม้กระดานแผ่นหนึ่งจะตัดไม้คุณภาพ FAS ได้หนึ่งหรือสองชิ้น ดังนั้น ขนาดของไม้ไร้ตำหนิจึงมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับพันธุ์ไม้และขึ้นอยู่กับว่าไม้กระดานนั้นถูกอบแห้งในเตาอบไม้ (kiln dried) มาก่อนหรือเปล่า อีกอย่างหนึ่งคือสำหรับเกรด FAS นี้ ทั้งสองข้างของไม้กระดานจะต้องผ่านข้อกำหนดต่างๆ ของ FAS ดังที่กล่าวข้างต้น



ข้อกำหนดหนึ่งของเกรด FAS คือ ด้านธรรมดา (poor face) หรือที่ตรงกันข้ามกับด้านดีที่สุด ของไม้กระดาน อย่างน้อย 83% จะต้องเป็นไม้ไร้ตำหนิ



ชั้นไม้คุณภาพ FAS หน้าเดียว (FAS One Face หรือ F1F)
ไม้แปรรูปชั้นคุณภาพนี้ส่วนใหญ่จะส่งให้ลูกค้าในกองหรือมัดเดียวกับไม้เกรด FAS ตามที่ตกลงกัน ข้อกำหนดของเกรด FAS หน้าเดียวหรือที่เรียกว่า F1F คือด้านที่ดีที่สุดของกระดานต้องมีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐาน FAS
แต่ด้านตรงกันข้ามอนุโลมให้มีคุณสมบัติตามเกรดไม้คุณภาพมาตรฐานเบอร์ 1 ได้ ( No.1 Common Grade) ซึ่งจะได้อธิบายถึงเกรดนี้ต่อไป ฉะนั้น ผู้ซื้อไม้คุณภาพ F1F จะได้ไม้ชั้น FAS อย่างน้อยหนึ่งหน้ากระดาน หลายครั้งที่กองไม้ส่งออกจะได้รับการจัดให้อยู่ในสัดส่วน 80-20 คือ 80% เป็นไม้ชั้นคุณภาพ FAS และอีก 20% เป็นไม้คุณภาพ FAS หน้าเดียว หรือแล้วแต่จะตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย

ชั้นคุณภาพคัดเลือก ( Selects)

ไม้ชั้นคัดเลือกแทบจะไม่มีข้อแตกต่างกับชั้น FAS หน้าเดียว จะแตกต่างกันแค่ขนาดต่ำสุดของไม้กระดานซึ่งกฎระบุว่าต้องกว้างอย่างน้อย 4” และยาวอย่างน้อย 6’ ไม้เกรดนี้มักมาจากภาพเหนือของสหรัฐ และในการส่งมอบให้ลูกค้าอาจจะส่งรวมไปกับไม้เกรด FAS ตามที่จะตกลงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย หลายครั้งจะพบว่าการส่งออกไม้ชั้นคุณภาพสูงสุดนั้น ผู้ขายจะเรียกรวมๆ กันว่า ไม้เกรด FAS และเป็นแนวปฏิบัติปกติทางธุรกิจที่ผู้ขายไม้เนื้อแข็งอเมริกันจะส่งไม้ทั้งสามชั้นคุณภาพในกองเดียวกันในสัดส่วนที่กำหนดไว้ผู้ซื้อจึง ควรตกลงกับผู้ขายในประเด็นนี้ล่วงหน้า เพื่อจะได้รับไม้ในคุณภาพที่ต้องการ แต่ในทุกกองไม้ชั้นคุณภาพ FAS F1F และ คัดเลือกที่จัดส่ง ผู้ซื้อจะต้องได้รับไม้ระดับคุณภาพ FAS อย่างน้อยในหนึ่งด้านของกระดาน

ยังมีชั้นคุณภาพอื่นอีกที่พัฒนามาจากเกรดข้างต้น คือ

เกรดไพร์ม (Prime) เกรดนี้พัฒนามาจาก เกรด FAS ของ NHLA เพื่อใช้กับตลาดไม้ส่งออกไม้ในเกรดนี้แทบจะไม่มีส่วนโค้งที่ของแผ่นไม้ (Wane) ขึ้นไม้ไม่มีตำหนิจะมีข้อกำหนดเหมือนกับของเกรดคัดเลือกหรือสูงกว่าและรูปลักษณ์ของไม้ไร้ตำหนิเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในเกรดนี้ขนาดต่ำสุดของแผ่นไม้กระดานที่จัดส่งในเกรดจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ไม้ พื้นที่ที่พันธุ์ไม้นี้เจริญเติบโตอยู่และการกำหนดของผู้ขาย

เกรด คอมเซล (Comsel) เกรดนี้พัฒนามาจากเกรด คุณภาพชั้นหนึ่งและคัดเลือกของ NHAL ในกรณีที่มีการส่งออกแผ่นไม้ในเกรดนี้ต้องมีไม้ไม่มีตำหนิอย่างน้อยปริมาตรเท่ากับหรือสูงกว่าที่มีในไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง (No.1C) เล็กน้อยและเช่นเดียวกับเกรดไพร์ม รูปลักษณ์ของไม้ไร้ตำหนิก็เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่ง ขนาดต่ำสุดของแผ่นกระดานที่จัดส่งจะขึ้นอยู่กับพันธุ์ไม้ พื้นที่ที่พันธุ์ไม้นี้เจริญเติบโตอยู่ และการกำหนดของผู้ขาย

ควรรับทราบด้วยว่า ไพร์มและคอมเซลไม้ได้เป็นคำนิยามมาตรฐานของ NHLA และไม่ถือว่าทั้งสองเป็นชั้นคุณภาพของ NHLA อย่างเป็นทางการ

วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความหนามาตรฐานสำหรับไม้แผ่นแปรรูปเลื่อยหยาบ

ความหนามาตรฐานสำหรับไม้แผ่นแปรรูปเลื่อยหยาบใช้หน่วยวัดเป็น 1/4 นิ้ว กล่าวคือ 1" จะแสดงเป็น 4/4
การแปรรูปเนื้อแข็งอเมริกันส่วนใหญ่จะเลื่อยให้หนาระหว่าง 1" ถึง 2" ความหนาขนาดอื่นก็มีให้เลือกเหมือนกันแต่ในปริมาณจำกัด
ข้างล่างนี้เป็นความหนามาตรฐานแสดงเป็นนิ้วและเป็นมิลลิเมตร

3/4 (3/4" = 19.0mm.)
8/4 (2" =50.8mm.)
4/4 (1" = 25.4mm.)
10/4 (21/2" =63.5mm.)
5/4 (11/4" = 31.8mm.)
12/4 (3" =76.2mm.)
6/4 (11/2" = 38.1mm.)
16/4 (4" =101.6mm.)
ความหนามาตรฐานสำหรับไม้แผ่นแปรรูปที่แต่งผิวหน้าไม้แล้ว (Surfaced lumber)

หลังจากการแต่งผิวหน้าไม้เลื่อยหยาบแล้ว ถ้าปรากฎตำหนิบนไม้ เช่น รอยปริ รอยด่าง การบิดงอ ในการจัดชั้นคุณภาพจะไม่ถือว่าไม้แผ่นนั้นมีตำหนิ ตราบใดที่สามารถกำจัดมันออกได้โดยกระบวนการใสผิวหน้าไม้

ความหนาหลังแต่งผิวหน้าไม้ของไม้แผ่นแปรรูป หาได้โดย:
--สำหรับไม้แปรรูปหน้า 1 1/2 หรือน้อยกว่านั้น ให้เอา 3/16 หักออก ก็จะได้ความหนาสุทธิหรือความหนาหลังแต่งผิวหน้าไม้ (finished thickness)
--สำหรับไม้แปรรูปหน้า 1 3/4 หรือมากกว่านั้นให้เอา 1/4 หักออก ก็จะได้ความหนาสุทธิหรือความหนาหลังแต่งผิวหน้าไม้

การวัดขนาดไม้กระดานเนื้อแข็งแปรรูปที่อบแห้งด้วยเตาอบไม้ (kiln dried lumber)

-หลังการอบแห้งด้วยเตาอบ
อาจนำไม้กระดานเนื้อแข็งแปรรูปมาวัดขนาดคิดเป็นบอร์ดฟุตโดยใช้สูตรเดียวกับที่อธิบายข้างต้น ผลที่ออกมา เรียกว่า net tally หรือ จำนวนสุทธิ
-และยังมีสิ่งที่เรียกว่า จำนวนเบื้องต้น (gross หรือ green tally) คือปริมาณไม้แปรรูปก่อนการทำแห้งด้วยเตาอบถ้าตกลงซื้อขายไม้กระดานแบบเบื้องต้นคือก่อนการอบแห้ง ผู้ซื้อจะได้กระดานไม้แปรรูปที่น้องลงคิดเป็นบอร์ดฟุตประมาณ 7% เมื่อนำไปใช้งานจริง เพราะถ้านำไปใช้อบแห้งจะเสียไม้ไปเนื่องจากการหดตัวของเนื้อไม้

วิธีการคำนวณหาปริมาณไม้ที่เก็บกองอยู่

ในกรณีนี้จะใช้หน่วยวัดเป็นบอร์ดฟุตเหมือนกัน

การหาค่าบอร์ดฟุตของไ้ม้กระดานหนึ่งแผ่น ใช้วิธีเอา SM (ขนาดของพื้นที่ผิวหน้าไม้) คูณกับความหนาของกระดานกาำรคำนวณหา่ค่าบอร์ดฟุตของไม้กระดานที่วางรวมกันเป็นกองก็ใช้วิธีเดียวกันคือ

1. คำนวณหาค่า SM ของไม้ที่กองรวมกันหนึ่งชั้น (layer) ก่อน ซึ่งกระทำโดยวัดความกว้างสุทธิของทั้งกองไม้ (อย่าลืมหักขนาดช่องว่างระหว่างไม้กระดานที่อาจมีออก ดังในรูป ข้างล่างนี้ เพื่อให้ได้ความกว้างสุทธิ) แล้วนำไปคูณกับความยาวของกองไม้ (ถ้าในกองไม้มีไม้กระดานที่ความยาวแตกต่างกันออกไปให้หาและนำความยาวเฉลี่ยมาใช้แทน) ได้เท่าไหร่ให้หารด้วย 12
2. พอได้ค่า SM ของไม้กระดานหนึ่งชั้นแล้ว ให้นำค่านี้ไปคูณกับความหนาของไม้หนึ่งชั้นจะได้ปริมาตรคิดเป็นบอร์ดฟุตของไม้หนึ่งชั้น
3. นำจำนวนนี้ไปคูณกับจำนวนชั้นของไม้ในกอง จะได้ค่าบอร์ดฟุตหรือปริมาตรของไม้กระดานแปรรูปทั้งกอง
ตัวอย่างเช่น
-- ความกว้างเฉลี่ยของไม้กองหนึ่ง= 40" (หมายถึงไม้แปรรูปหลังการปรับระยะระหว่างแผ่นไม้ให้มีช่องว่างน้อยที่สุด)
-- ความยาวของกอง = 10'

ฉะนั้น 40" x 10' = 400 / 12
= 33.33
-- ความหนาของไม้กระดานแปรรูปแบบ 8/4 หนึ่งแผ่น
คือ x 2 เอา 33.33 x 2 =66.66
นี่คือค่าบอร์ดฟุตของไม้กระดานหนึ่งชั้น
-- กองนี้มีทั้งหมด 10 ชั้น จึงเอา 10x66.66 =666.67




บทความโดยสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

วิธคำนวนหาปริมาตรของไม้แปรรูป

กฏเกณฑ์การจัดชั้นคุณภาพไม้แปรรูปอเมริกันของสมาคมไม้เนื้อแข็งแปรรูปแห่งชาติจะใช้หน่วยวัดแบบ อิมพีเรียล กล่าวคือ ใช้ตัววัดเป้นฟุตและเป้นนิ้ว ในขณะที่ในตลาดส่งออกส่วนใหญ่จะคุ้นกับระบบเมตริก คือตัววัดเป็นเมตรกับเซนติเมตรมากกว่า อนึ่ง ขนาดไม้แปรรูปมาตรฐานที่ใช้ในการคำนวณต่างๆ นั้นจะมาจากการสุ่มตัวอย่างจากไม้แปรรูปหลากหลายขนาดทั้งในแง่ความกว้างและยาว

บอร์ดฟุต (Board Foot หรือ ตัวย่อ BF)
บอร์ดฟุตคือหน่วยที่ใช้เวลาคำนวณหาปริมาตรของไม้แปรรูปเนื้อแข็ง :
หนึ่งบอร์ดฟุต มีค่าเท่ากับ ความยาว 1 ฟุต x ความกว้าง 1 ฟุต x ความหนา 1 นิ้ว ( 1 ฟุต = 0.305 เมตร 1 นิ้ว = 25.4 มม.)

สูตรในการคำนวณหาค่าบอร์ดฟุตในแผ่นไม้แปรรูปหนึ่งแผ่นคือ :
ความกว้างเป็นนิ้ว x ความยาวเป็นฟุต x ความหนาเป็นนิ้ว แล้วหารด้วย 12 = (จำนวน) บอร์ดฟุต

สัดส่วนของไม้ไม่มีตำหนิในไม้กระดานแปรรูป ในชั้นคุณภาพต่างๆ ของไม้เนื้อแข็งอเมริกันจะคำนวณจากหน่วยวัดข้างบนนี้

ตัวอย่างเช่น
กว้าง x ยาว x หนา
(12" x 12' x 1") หารด้วย 12 = 12 บอร์ดฟุต
( 8" x 6' x 2") หารด้วย 12 = 8 บอร์ดฟุต

พื้นผิวหน้าไม้ (surface measure หรือ SM)

SM คือ ขนาดพื้นที่ผิวหน้าของไม้กระดานแ่ผ่นหนึ่งวัดเป็นตารางฟุต หาค่าได้โดย
วัดความกว้างของแผ่นไม้เป็นนิ้ว คูณกับความยาวของแผ่นเป็นฟุต แล้วหารด้วย 12
ถ้าค่าใดๆ มีเศษส่วนให้ปัดเป็นตัวเลขเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด

ตัวอย่างเช่น
6 1/2" x 8' หารด้วย 12 = 4 1/3 ปัดเป็น = 4' SM

8" x 12' หารด้วย 12 = 8 ' SM

10" x 13' หารด้วย 12 = 10 10/12 ปัดเป็น = 11' SM



ฉะนั้น ไม้แปรรูปแผ่นหนึ่งจึงวัดได้สองแบบ คือ SM และ BF ดัวตัวอย่างต่อไปนี้
สมมติว่าไม้กระดานข้างบนนี้ หนา 2" กว้าง 6 1/4" แล้วยาว 8' ตามสูตรข้างต้น จะได้ :
-- 6 1/4" x 8' หารด้วย 12 = 4 1/4 SM ซึ่งเราปัดเป็น 4' SM
--และถ้าเราจะหาค่าเป็น BF ของไม้แปรรูปแผ่นนี้ ก็นำเอา ค่า SM ที่ได้คำนวณแล้วมาคูณกับความหนา 2" จะได้ค่า BF = 8'

ในการเตรียมไม้แปรรูปสำหรับเข้ามัดหรือลงกองเพื่อส่งออก จะมีการสุ่มบันทึกไม้กระดานว่ากว้างยาวเท่าไหร่ ตัวเลขเป็นเศษส่วนจะปัดเป็นจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงที่สุด ถ้าเป็น 1/2 นิ้วให้ปัดขึ้นหรือลงก็ได้
ตัวอย่างเช่น กระดานที่กว้าง 5 1/4" ยาว 8 1/2' จะถูกบันทึกเป็น กว่าง 5" ยาว 9'



บทความโดยสภาส่งออกไม้เนื้อแข็งอเมริกัน

มาฮอกกานี่ : เราใช้ อาฟริกัน มาฮอกกานี่ ในสายการผลิตของเรา เป็นไม้น้ำหนักปานกลางจนถึงหนักมาก ที่ผลิตลำตัวของ Strat® ที่ให้น้ำหนักเฉลี่ย 5 ปอนด์หรือมากกว่านิดหน่อย เป็นไม้ที่มีผิวละเอียดมาก คุณสมบติเหมาะสมที่สุดกับการผลิตเครื่องดนตรี โทนเสียงที่อบอุ่นและมีซัสเทนที่ดี เนื้อไม้ที่ง่ายต่อการขัดขึ้นเงา มองดูสวยงามเมื่อเคลือบผิวแบบใส หรือทำสีแดงใส(เห็นลายไม้)


เลซวู๊ด : ไม้ชนิดนี้นำเข้ามาจาก ออสเตรเลีย จัดได้ว่าเป็นไม้น้ำหนักปานกลาง มันมีลายออกเป็นจุดเล็กๆ ไปจนถึงจุดใหญ่ เหมือนเกล็ดของสัตว์เลื้อยคลาน ที่แต่งแต้มไว้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เลซวู๊ดจะดูดีที่สุดถ้าหากนำมาทำเป็นไม้ผิวตัวบน แต่ก็ยังนำมาทำได้ทั้งตัวเช่นเดียวกัน สุ้มเสียงที่ได้มีลักษณะแบบ แอลเดอร์